วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

Modern architecture


Modern architecture is generally characterized by simplification of form and creation of ornament from the structure and theme of the building. It is a term applied to an overarching movement, with its exact definition and scope varying widely. In a broader sense, early modern architecture began at the turn of the 20th century with efforts to reconcile the principles underlying architectural design with rapid technological advancement and the modernization of society. It would take the form of numerous movements, schools of design, and architectural styles, some in tension with one another, and often equally defying such classification.
The concept of modernism would be a central theme in these efforts. Gaining popularity after the Second World War, architectural modernism was adopted by many influential architects and architectural educators, and continues as a dominant architectural style for institutional and corporate buildings into the 21st century. Modernism eventually generated reactions, most notably Postmodernism which sought to preserve pre-modern elements, while Neomodernism emerged as a reaction to Postmodernism.
Notable architects important to the history and development of the modernist movement include Frank Lloyd Wright, Ludwig Mies van der Rohe, Walter Gropius, Le Corbusier, Oscar Niemeyer and Alvar Aalto.

รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี


     
รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2480 ที่จังหวัดสงขลา ได้รับการเรียนการสอนทางด้านศิลปะไทยตั้งแต่เด็กๆ ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาปริญญาตรีทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบการศึกษาปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ด้วยใจรักทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทยจึงเป็นอาจารย์มาตลอด โดยสอนด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ลายเขียนไทย และสถาปัตยกรรมไทย
เนื่อง จากผลงานด้านสถาปัตยกรรมไทยของอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายๆแห่ง ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เช่น วัดกุสินารามมหาวิหาร ที่ประเทศอินเดีย วัดไทยที่ลุมพินี ประเทศเนปาล พระตำหนักปากพนัง ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ จึงทำให้ได้รับการ ประกาศเกียรติคุณจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ คนดีศรีมหาวชิราวุธ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาปนิกดีเด่น บุคคลตัวอย่างด้านการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมไทย สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่นด้านการสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมไทย ประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่น สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ และสืบทอดผลงานสถาปัตยกรรมไทย การยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (สถาปัตยกรรมไทย) ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ดม.ศ.) รางวัลนิคเคอิเอเชีย ไพรซ์ สาขาศิลปวัฒนธรรม จากประเทศญี่ปุ่น รางวัลเอเชียแปซิฟิก สาขาศิลปะวัฒนธรรม จากประเทศญี่ปุ่นอีกเช่นกัน และอื่นๆอีกมากมาย
  
คติพจน์ประจำใจ
“ชีวิต คนเรา พระเจ้ากำหนดไว้แล้ว” หมายถึงว่า ชีวิตของเราแต่ละคนตอนที่เกิดนั้น เลือกเกิดไม่ได้ มันต่างเป็นไปตามบุญและกรรมที่แต่ละคนสร้างไว้แต่ชาติปางก่อน และทุกคนเกิดมาย่อมมีทางที่พรหมลิขิตกำหนดไว้แล้ว ตัวเองเชื่ออย่างนั้น เพราะเทียบกับตัวเองดู ตอนเด็กๆไม่ได้เลือกที่จะเรียนศิลปะ แต่บังเอิญพ่อของเพื่อน ซึ่งบวชเป็นพระอยู่นั้นก็รับตนมาสอนวิชาเขียนลายไทยให้ตั้งแต่อายุ 7-8 ขวบ และที่ได้มีชื่อเสียง มีผลงานก็เป็นเพราะจิตใจที่รักศิลปะนี้ พระเจ้าคงจะกำหนดมาให้เราเดินมาทางนี้มาตั้งแต่แรกจริงๆ ตอนที่เป็นนักเรียน ไม่ชอบครูบาอาจารย์ จึงตัดสินใจตั้งใจเรียนทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม เพื่อที่จะได้มีอาชีพที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ แต่ไปๆมาๆ ก็คงเป็นเพราะชะตาฟ้ากำหนด ก็หนีจากความเป็นอาจารย์ไม่พ้น ตอนนี้ก็ยังสอนให้ความรู้กับเยาวชนและทุกคนๆที่สนใจในศิลปวัฒนธรรมไทย
อุปสรรคปัญหาที่ผ่านมา และวิธีการฝ่าฟันอุปสรรค
ปกติ แล้วตนเองนั้น จะเป็นคนคิดในแง่ดีเสมอ ถึงแม้จะมีปัญหาใหญ่ๆก็ไม่ได้คิดว่ามันจะเป็นอุปสรรคอะไร และเมื่อคิดแล้วว่าไม่ใช่อุปสรรค สิ่งต่างๆที่ตามมาก็จะดีขึ้นเอง แต่ เมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ปัญหาที่ตนเองคิดจริงๆว่าเป็นอุปสรรคคือ ความยากจน เนื่องจากบิดาบวชเป็นพระอยู่นานหลายปี คนที่ต้องหารายได้เลี้ยงครอบครัวจึงเป็นมารดา ตนเองเป็นลูกคนโต โดยมีน้องๆอีก 7 คนที่ต้องดูแล เลยทำให้ต้องเรียนไปด้วย ทำงานเลี้ยงน้องๆไปด้วย แต่ก็โชคดีที่มีงานพิเศษให้ทำอยู่เรื่อยๆ เช่นงานทำป้ายเหล็ก งานทองเหลือง ฯลฯ จึงทำให้สามารถหาเงินให้น้องๆได้เรียนหนังสือได้ด้วย สิ่งที่ช่วยให้ข้ามอุปสรรคนี้มาได้ ก็คือ ความขยันมั่นเพียร นั่นเอง
มุมมองเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทยในปัจจุบัน
 ใน เรื่องภาพรวมของการเมืองและเศรษฐกิจไทยนั้น ตนเองก็คอยเอาใจช่วยอยู่เสมอ เพียงแต่ว่าตนเองจะสามารถช่วยอะไรประเทศชาติทางด้านนี้ได้นั้น คงจะไม่มีเพราะไม่ได้เชี่ยวชาญ ส่วน เรื่องของสังคมไทยนั้น ที่มีคนกล่าวกันว่าเด็กๆสมัยนี้ มี่สนใจความเป็นไทย เอาแต่สนใจต่างประเทศหรือค่านิยมที่ผิดๆนั้น ตนเองเชื่อว่ามันไม่จริง ตนเองเชื่อว่า เด็กไทยที่ดีๆอยู่ก็มีอยู่มาก เพียงแต่เนื่องจากประชากรตอนนี้เพิ่มเยอะขึ้น ก็ก็เป็นเรื่องปกติที่เด็กที่ไม่ดี ก็อาจจะเพิ่มขึ้นจากเมื่อก่อนด้วย จากการที่ได้สอนนิสิตนักศึกษาจากหลายๆมหาวิทยาลัย ก็เห็นว่า เยาวชนไทยที่สนใจศิลปวัฒนธรรมไทยก็มีอยู่มาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี และตนเองก็จะตั้งใจเต็มที่ ที่จะเผยแพร่ความรู้เรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย และศิลปวัฒนธรรมไทยต่อไป

Vincent Callebaut

vincent callebaut : สถาปนิกผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน
Vincent Callebaut ไม่ต้องการให้ใครมากำหนดกรอบให้เขา ด้วยว่าเขามักคิดค้นทฤษฏีใหม่ ๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง Archibiotic , Architecture Landscape Distortions , Ecosystem Abstraction ,Digital Hybridization ไม่แค่คิดเปล่า เขานำเสนอมันผ่านสถาปัตยกรรมล้ำหน้าท้าทายเวทีงานประกวดมาแล้วรอบโลก คอนเซ็ปต์ของเขาจึงเป็นที่น่าสนใจในโลกปัจจุบัน ด้วยความที่คอนเซ็ปต์หลักในสถาปัตยกรรมของ Callebaut คือ การผสมผสานวิทยาศาสตร์กับงานสำรวจทางวัฒนธรรม แล้วนำเข้าไปประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้ออกมาเป็นแลนด์สเคปของ สถาปัตยกรรมแบบแผนใหม่ (Architecture Landscape Distortions) หรือนามธรรมของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (Ecosystem Abstractions ) ด้วยวิธีผสมรูปดิจิตอล เพื่อสร้างโลกที่มีความยั่งยืนและมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น เพราะในความคิดของเขา คิดว่า สถาปนิกรุ่นยุคนี้ต้องมีชั้นเชิงและยืดหยุ่นได้ คือ วิธีการแทรกแซง เปิดรับการปรับตัวครั้งใหม่ของวิทยาศาสตร์ , ศิลปะ ,วรรณกรรม และเทคโนโลยี สถาปนิกต้องเป็นเหมือนดีเจที่นำสเปซของอาคารมามิกซ์กับความรู้ทุกแขนงให้กลม กลืน

ดังนั้น งานดีไซน์ของ Callebaut จึงเป็นงานทีมีการรวมของสิ่งมีชีวิต และเทคโนโลยี เพื่อจะสร้าง Ecopolis เมืองสีเขียวในอนาคตที่ใช้พลังงานยั่งยืน นิยามของเขา คือ Archibiotic (Arch+Bio+NICT) เป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมที่สร้างพลังงาน สร้างสิ่งที่จำเป็นเพื่อบริโภค เพราะเรากำลังเผชิญหน้ากับโลกที่รุนแรง มนุษย์อยากฟื้นธรรมชาติให้ยั่งยืนทั้งกายภาพและจิตวิญญาณ ความศิวิไลซ์จะสร้าง New Identity ขึ้นมา เพระาจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น , เศรษฐกิจ ,สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ต้องหาจุดลงตัว

สิ่งแรกที่ Callebaut เมื่อเริ่มต้นงานออกแบบ คือ ความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในงานสถาปัตย์เปิดโอกาสให้เราได้ดี ไซน์ต้นแบบของอาคารที่ฉลาดและปรับตัวได้เหมือนสถาปัตยกรรมต้องเป็นไบโอ เทคโนโลยีที่รักษาสมดุลได้เป็น organic systems เราต้องเข้าใจการทำงานของที่อยู่อาศัยใหม่และประยุกษ์มันให้เข้ากับระเบียบ แบบแผนที่มีขั้นตอนตามลำดับขั้นของคณิตศาสตร์ สถาปัตยกรรมกับวิศวกรรมจะต้องควบรวมโมเดลของธรรมชาติเข้ากับงานดีไซน์ สถาปนิกต้องสร้างระบบออร์แกนิกนี้ขึ้นมา

จากทุกโปรเจ็คของ Callebaut ทำให้เห็นว่าการทำงานเป็นทีมของเขาต้องร่วมมือกัน ทุกทีมงานจะประมวลออกเป็นคอนเซ็ปต์ ไม่ว่าจะเป็นนักชีววิทยา ,นักเคมีวิทยา ,วิศวกร ,ศิลปิน เขาสามารถดีลกับความรู้หลากหลายด้าน จึงทำให้งานมีความน่าสนใจ เช่นงาน Anti-Smog มันเป็นงานที่ท้าทายของเขามาก คือการคิดสร้างอาคารที่มีระบบ auto – sufficient ทั้งอาคารเพื่อควบคุมบรรยากาศได้อัตโนมัติ มันเป็นความท้าทายที่จะพัฒนาขีดจำกัดของระบบนิเวศน์ ด้วยการสร้างระบบให้ได้ผลอย่างยั่งยืน ส่วนแนวความคิดที่อธิบาย investigation architecture mixing biology to information and communication technologies ได้ดี คือ Eco-mic เป็นซิมโบลใหม่ที่ต่อต้านความถดถอยของเสรีภาพ มันเป็นการสร้างเมืองในอุดมคติคล้ายกับช่วงยุคก่อนที่ทวิปอเมริกาจะถูกล่า อาณานิคมเหมือนภาพ Utopia ในปี 60 โปรเจ็คต์นี้รวมสเปซเปิดโล่งไว้ในระบบนิเวศน์ของทาวเวอร์ ความท้าทายในการต้านแรงโน้มถ่วงเป็นดังคำประกาศอิสรภาพของสถาปัตยกรรม

Ecomic (Ecological and Metropolitan Infographic Center) Mexico City ,Mexico


VINCENT CALLEBAUT นำเสนอแนวคิดทางสถาปัตยกรรมบนพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่ถูกขนานนามว่า ‘The land of Tree-Culture” อย่างย่าน Tlateloco ในเม็กซิโกซิตี้ให้เป็นที่ตั้งของอาคาร Ecomic (Ecological and Metropolitan Infographic Center)ขึ้นท่ามกลางซากปรักหักพังของฐานพีระมิด Aztec ด้วยสิ่งก่อสร้างอันหลากหลายทางวัฒนธรรมในแต่ละช่วงเวลา ไม่ว่าโบสถ์ Santiago หรือ สถานทูตของหลายประเทศที่รายล้อมอยู่ ฉุดให้ย้อนคิดถึงความขัดแย้งในอดีตระหว่างชาว Conquistadors และ Aztecs ที่เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงในดินแดนนี้ โดยเฉพาะการสังหารหมู่ในยุคโบราณที่รู้จักกันในนาม Massacre of Tlateloco ประเด็นนี้ถูกนักศึกษาจากฝรั่งเศส เยอรมัน และเซ็กโกสโลวาเกียนำมาสะสาง ด้วยการผลักดันให้เกิดการศึกษาตีความห้วงเวลาการเปลี่ยนแปลงในยุคก่อนละตินอ เมริกา ยุคล่าอาณานิคม ไปจนถึงยูโธเปียของยุคโมเดิร์น กลายมาเป็นที่มาของ Ecomic ที่แต่เดิม Mario Pani สถาปนิกชาวเม็กซิกันกันเคยเสนอแนวคิดไว้ตั้งแต่ช่วงยุค 60 วันนี้ VINCENT CALLEBAUT เลยหยิบยกขึ้นมาเป็นคอนเซ็ปต์เพื่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวแทนของการ กำเนิดใหม่ อิสรภาพ และความทันสมัย

เป้าหมายหลักของ Ecomic คือการเชื่อมโยงสเปซที่กว้างใหญ่ให้เข้าถึงกันด้วย Ecological Green Tower และสัมพันธ์กับพื้นที่ทางโบราณสถานในเวลาเดียวกัน ด้วยโครงสร้างแบบกระดูกสันหลังของอาคารที่เป็นทั้งทางสัญจรด้วย ทำให้กล่องและสวนลอยฟ้ารอบอาคารอัดแน่นด้วยฟังก์ชันพิพิธภัณฑ์ แต่ละสเปซมีมุมองออกมาได้อย่างอิสระในแต่ละยูนิต จอภาพกราฟิก (Scenography) รวมอยู่ในโครงสร้างและเปลือกอาคาร เพื่อนำเสนอข้อมูล Infographic ทั้งในส่วนภายในและภายนอกอาคาร สภาปัตยกรรมที่ทันสมัยและสนใจสิ่งแวดล้อมแห่งนี้ คงบ่งบอกความเคลื่อนไหวในประเด็นของระบบนิเวศน์และมุมมองการพัฒนาในอนาคตของ เม็กซิโกได้อย่างดี

Urban Corset



Urban Corset
Brussels ,Belgium


กรุงบรัสเซลส์ เป็นเมืองซับซ้อน การปะทะกันของความสวยงามและความรกร้าง ในโครงสร้างผังเมืองที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วของย่าน Porte de Namur โดย VINCENT CALLEBAUT มองคล้ายกับมันเป็น experimental playground ในเมือง เพราะมันมีความฉาบฉวยและการเปลี่ยนแปลงแบบผิดปกติ

คอนเซ็ปต์ของ Urban Corset จึงเป็นแนวความคิดเชิงทดลองทางสถาปัตยกรรมที่สร้างแลนด์สเคปใหม่ที่คาบ เกี่ยวอยู่ตรงกลางระหว่างขั้วตรงข้ามต่าง ๆ ทั้งหมดของเมือง ด้วยการสร้างสเปซที่เป็นตัวกลางในการปรับปรุงผังเมืองอย่างมีแบบแผน รวมไปถึงการปรับแต่งและจัดระเบียบความเป็นไปของเมืองให้มีลำดับขั้นใหม่ๆ และไม่ใช่เพียงในแนวราบเท่านั้น ความสัมพันธ์กับพื้นที่ในแนวตั้งก็ถูกรวมเข้าไว้ในการดีไซน์ด้วย

แนว ความคิดหลัก 4 อย่างในการสร้าง ubran Corset ของ Vincent อันดับแรกคือต้องเคลียร์ถนนด้วยการสร้างอุโมงค์ขนาดใหญ่ให้รถลงไปวิ่งใต้ดิน ของย่าน Porte de Namur ทั้งหมด สองต้องควบรวมชุมชน เมื่อรถไปวิ่งใต้ดิน ทำให้เกิดเป็นจัตุรัสสำหรับให้ผู้คนได้พบปะกันได้ สามต้องสร้างสเปซใหม่ โมดูลใหม่ และความยืดหยุ่นของสเปซสำหรับพักอาศัยตรงบริเวณกลางถนน โดยให้โครงสร้างใหม่นี้เกาะอยู่บนหลังคาของตัวเมืองอีกที สุดท้ายทุกอย่างก็เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ภายใต้หลังคาสีแดงและทองที่เหมือน Unban Roof และใช้เป็นแผงโซ่ล่าเซลล์เพื่อกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็น พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนให้กับเมืองอีกด้วย แนวคิดล้ำหน้าแบบนี้ของ Vincent Callebaut สถาปนิกคิดเยอะ คงจะทยอยออกมาให้เราดูกันอีกเพียบอย่างแน่นอน

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

งานสถาปัตยกรรมตะวันออก





งานสถาปัตยกรรมตะวันออก อาจแบ่งออกได้ตามประโยชน์ช่วงใช้ จึงมีทั้งที่อยู่อาศัยและสิ่งก่อสร้างในศาสนา และเนื่องจากประเทศในตะวันออกส่วนใหญ่อยู่ในโซนร้อน มีฝนชุกบ้าง มีอากาศแปรปรวนหนาวร้อนจัดบ้าง หลังคาของอาคารส่วนใหญ่จะมีจั่วสูง ซึ่งแตกต่างกับอินเดีย เพราะแม้ว่าจะเป็นประเทศแม่บทบาททางศิลปะและวัฒนธรรมของเอเซีย แต่ก็มิได้มีสิ่งก่อสร้างเฉพาะ ที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้เป็นเพราะอากาศตามปกติของอินเดียออกจะแห้งแล้งและหนาวจัดในบางฤดู ที่อยู่อาศัยจึงสร้างขึ้นเพื่อป้องกันอากาศที่แปรปรวน แต่ประเทศทางตะวันออกไกลมีฝนตกชุก มีอากาศร้อน ที่อยู่อาศัยจึงหลังคาสูง และปลูกอยู่บนเสาสูง
ลักษณะของสถาปัตยกรรมตะวันออกเป็นไปตามฐานะของบุคคลอย่างเห็นได้ชัด เช่น ปราสาทราชวังของกษัตริย์ หรือคฤหาสน์อันโอ่อ่าของคหบดี หรือกระท่อมไม้ไผ่ มุงหญ้าคาของคนในชนบท สิ่งเหล่านี้มิได้เป็นสิ่งแปลกประหลาด เพราะดูจะเหมือนกันทุกแห่งในโลก
พิจารณาในด้านการศึกษารูปแบบการตกแต่งแล้ว จะเห็นความคิดสร้างสรรค์ตามความเหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น ในถิ่นที่มีไม้มากก็จะใช้ไม้หรือในถิ่นที่มหาไม้ได้ยากกว่า ก็จะใช้วัสดุอย่างอื่น การสร้างที่อยู่อาศัยจึงขึ้นกับสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง เช่น อุปกรณ์ ดินฟ้าอากาศ และพื้นเพสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน
สำหรับศาสนสถาน หรือ สิ่งก่อสร้างในศาสนานั้น แตกต่างกันออกไปจากที่อยู่อาศัย บ้างมีความมุ่งหมายให้เกิดความถาวรมั่นคง มีอายุยืนนาน จึงมักจะก่อสมร้างด้วยหิน หรือ อิฐปูนตามกำลังศรัทธา เช่น ในประเทศอินเดีย สมัยราชวงค์คุปตะ มีการเจาะภูเขาสร้างเป็น “ วิหารถ้ำ ” เช่น ถ้ำอาจันตะ มีอยู่ถึง 20 กว่าถ้ำ แต่ถ้าถ้ำประดิษฐ์สิ่งตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง จนเหนือความสามารถของมนุษย์ในปัจจุบันที่จะทำเช่นนั้นได้ การสร้างศาสนาสถานในลักษณะต่าง ๆ ของประเทศตะวันออก แม้ว่ามีแม่บทคือ อินเดีย แต่ก็ยังสามารถประดิษฐ์ให้เป็นแบบอย่างเฉพาะของแต่ละประเทศได้ นับว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ซึ่งคนสมัยก่อน ๆ ได้ฝากความคิด และฝีมือไว้เป็นอุทาหรณ์
การตกแต่งประดับประดาสิ่งก่อสร้างเฉพาะที่อยู่อาศัยย่อมแตกต่างกับศาสน สถานเพราะ ที่อยู่อาศัยนั้น มุ่งแสดงฐานะความสะดวกสบาย และความสุขของผู้อยู่อาศัยที่เป็นเจ้าของ แต่ศาสนสถานนั้นมุ่งจรรโลงศาสนา ทุ่มเทพลังความคิดและฝีมือเพื่อเสริสร้างความศรัทธาแก่มหาชน อาจทำตามผู้มีอำนาจบงการก็จริงอยู่ แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นสถานที่ทำให้เกิดความวิเวกจิตสงบ จึงมีการตกแต่งที่แตกต่างกันออกไปบ้าง เรื่องราวที่นำมาประกอบกับความเข้าใจในการตกแต่งอาจมีทั้งจิตรกรรมและ ประติมากรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่เพื่อประโยชน์สุขทางศาสนาร่วมกันของมหาชนทั้งสิ้น
[ซ่อน]
    

สถาปัตยกรรมไทย


สถาปัตยกรรมไทย หมายถึงศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยม สถาปัตยกรรมไทย มีมานานตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มตั้งถิ่นฐาน เป็นเวลาร่วม 4000 ปี บรรพบุรุษไทยได้พัฒนาและปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการ ดำรงชีวิต เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ
                                          โดยเพิ่มเติมใส่เอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้าไป ซึ่งนับเป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย สามารถแบ่งยุคได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ สถาปัตยกรรมไทยสมัยประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรมสมัยรัตน โกสินทร์


Pre-bee 4

   
Pre-Bee คณะสถาปัตยกรรม
 

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง


Ludwig Mies van der Rohe


Ludwig Mies van der Rohe (born as Maria Ludwig Michael Mies; March 27, 1886, Aachen – August 17, 1969, Chicago) was a German-American architect. He is commonly referred to, and was addressed, as Mies, his surname. Along with Le Corbusier, Alvar Aalto and Frank Lloyd Wright, he is widely regarded as one of the pioneering masters of modern architecture.
Mies, like many of his post-World War I contemporaries, sought to establish a new architectural style that could represent modern times just as Classical and Gothic did for their own eras. He created an influential twentieth century architectural style, stated with extreme clarity and simplicity. His mature buildings made use of modern materials such as industrial steel and plate glass to define interior spaces. He strived towards an architecture with a minimal framework of structural order balanced against the implied freedom of free-flowing open space. He called his buildings "skin and bones" architecture. He sought a rational approach that would guide the creative process of architectural design. He is often associated with the aphorisms "less is more" and "God is in the details".

Frank Lloyd Wright



Frank Lloyd Wright (born Frank Lincoln Wright, June 8, 1867 – April 9, 1959) was an American architect, interior designer, writer and educator, who designed more than 1,000 structures and completed 500 works. Wright believed in designing structures which were in harmony with humanity and its environment, a philosophy he called organic architecture. This philosophy was best exemplified by his design for Fallingwater (1935), which has been called "the best all-time work of American architecture".[1] Wright was a leader of the Prairie School movement of architecture and developed the concept of the Usonian home, his unique vision for urban planning in the United States.
His work includes original and innovative examples of many different building types, including offices, churches, schools, skyscrapers, hotels, and museums. Wright also designed many of the interior elements of his buildings, such as the furniture and stained glass. Wright authored 20 books and many articles and was a popular lecturer in the United States and in Europe. His colorful personal life often made headlines, most notably for the 1914 fire and murders at his Taliesin studio. Already well known during his lifetime, Wright was recognized in 1991 by the American Institute of Architects as "the greatest American architect of all time

Fallingwater House : is a house designed by architect Frank Lloyd Wright in 1935 in rural southwestern Pennsylvania, 50 miles (80 km) southeast of Pittsburgh. The home was built partly over a waterfall on Bear Run in the Mill Run section of Stewart Township, Fayette County, Pennsylvania, in the Laurel Highlands of the Allegheny Mountains.